การใช้ไนโตรเจนในกระบวนการถนอมอาหาร

การใช้ไนโตรเจนเพื่อถนอมอาหารนั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นการเก็บรักษาอาหารโดยไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซที่เราใช้หายใจอยู่ทุกวันเป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ ก๊าซไนโตรเจนจึงสามารถนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการของสินค้า ที่เน่าเสียง่าย ให้สามารถคงสภาพความสดใหม่อยู่ได้นานโดยไม่มีสารเคมีตกค้าง

 

การใช้ไนโตรเจนบรรจุในถังเก็บ

       ไนโตรเจน ไม่ทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบรอบตัวมันและสามารถใช้ในการแทนที่ออกซิเจนในถัง เก็บผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตได้ เพื่อช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ ให้เก็บไว้ได้นานและไม่เปลี่ยนสภาพ  การใช้ไนโตรเจนเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในถังเก็บผลไม้หรือผัก ก็ทำให้ผลไม้สุกช้าลงสามารถขนส่งไปไกลๆได้ ระดับความบริสุทธิ์ของไนโตรเจนที่ใช้อยู่ที่ 95% - 99%  เครื่องผลิตไนโตรเจน ก็สามารถที่จะผลิตไนโตรเจนได้ความบริสุทธิ์ระดับนี้เช่นกัน

 
การใช้ไนโตรเจนบรรจุในหีบห่อ
       เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันและการเน่าเสียของวัตถุดิบอาหาร ไนโตรเจนถูกนำมาใช้แทนที่ออกซิเจนในขั้นตอนการบรรจุอาหาร เพื่อให้สามารถขยายอายุการเก็บรักษา ให้คงสภาพความสดใหม่ไว้ได้ สามารถใช้ไนโตรเจนที่บริสุทธิ์ 99% ซึ่ง สามารถใช้ไนโตรเจนในขั้นตอนนี้กับอาหารประเภท ขนมกรอบ ถั่วต่างๆ มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ต้องการความกรอบ ไม่เหม็นหืน ถ้ามีปริมาณออกซิเจนปนอยู่เยอะก็มีผลทำให้น้ำมันที่ปนอยู่ในอาหารพวกนี้ เปลี่ยนสภาพได้ ไม่เพียงแต่ใช้กับอาหารจำพวกทอดกรอบ หรืออบแห้งเท่านั้น ก๊าซไนโตรเจนยังสามารถใช้ถนอมอาหารประเภทน้ำ เครื่องดื่มได้อีกด้วย ทั้งแบบใส่คลุมพื้นที่ว่างในแพ็คเกจหรือไล่ออกซิเจนก่อนบรรจุอาหารลงไปแต่ อาจต้องการความบริสุทธิ์ที่มากขึ้นเป็น 99.5% ขึ้นไปเพราะออกซิเจนถ้าเหลือมาก็ยิ่งมีผลให้อาหารเปลี่ยนสภาพได้เร็วขึ้น
 
นอกเหนือจากการนำไนโตรเจนไปใช้ในกระบวนถนอมอาหารแล้ว ไนโตรเจนยังสามารถฆ่าแมลงที่กินเมล็ดพืชได้ โดนการใช้ไนโตรเจนไปแทนที่ออกซิเจนที่มีหน้าสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เมื่อไม่มีออกซิเจนก็ไม่มีอากาศหายใจและตายในที่สุด จึงเป็นวิธีกำจัดม้อดแมลงที่ได้รับการยอมรับว่าไม่มีอันตรายหรือสารเคมีตก ค้าง ปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ เช่น โรงสีข้าว ถังเก็บข้าวก่อนบรรจุ หรือการบรรจุที่ต้องส่งออกใช้เวลานาน ระยะทางไกล ก็นิยมใช้ไนโตรเจนเป็นตัวช่วยฆ่ามอดแมลง ความชื้นด้วย   ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.adsorptra.com  

 

Visitors: 294,083